21. การให้การบ้าน
เทคนิคการให้การบ้าน
การบ้าน(Homework) เป็นสิ่งที่ควบคู่กับครู นักเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนคงไม่มีครูท่านใดที่ไม่เคยให้การบ้านเลย ในทำนองเดียวกันคงไม่มีนักเรียนคนไหนที่ไม่เคยทำการบ้านเลย การให้การบ้านแก่นักเรียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตาม การให้การบ้านนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณค่ามาก ยิ่งขึ้น หากครูมีเทคนิคในการให้การบ้านที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน ดังรายละเอียดจะได้กล่าวในบทนี้
ใน บทนี้กล่าวถึง ความหมายของเทคนิคการให้การบ้าน วัตถุประสงค์ละประโยชน์ของการให้การบ้าน เทคนิคการให้การบ้าน เทคนิคการตรวจการบ้านประเมินผลการสอน สรุปท้ายบท รวมทั้งคำถามและกิจกรรมประจำบท
ความหมาย
คำว่า การบ้าน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช2542 หมายถึง งานที่ครูให้กำหนดให้นักเรียนไปทำที่บ้าน (ราชบัณฑ์ตยสถาน, 2546:115)
วีระ ไทยพาณิช (2551:28) กล่าวว่า การบ้าน คืองานชนิดใดชนิดหนึ่งที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชั้นเรียนที่ปฏิบัติหรือกระทำนอกโรงเรียน จุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อนให้นักเรียนมีโอกาสฝึกปฏิบัติและเพิ่มพูนสิ่งที่ทำในชั้นเรียน
ผู้เขียนขอเสนอ ความ หมายของเทคนิคการให้การบ้าน หมายถึง กลวิธีที่ครูใช้ในการดำเนินในกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมอบหมายงานที่ สัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน แต่ ครูกำหนดให้นักเรียนไปทำการบ้านที่บ้านหรือนอกเวลากิจการรมการเรียนการสอน ปกติเพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
วัตถุประสงค์
การให้การบ้านหรือการมอบหมายงานให้กับนักเรียนไปทำเพิ่มเติมที่บ้านนั้นมีวัตถุประสงค์หลายประการที่สำคัญได้แก่
1.เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะตามจุดประสงค์ของการเรียนซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความชำนาญ
2. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดมากยิ่งขึ้น และการให้การบ้านในบางเรื่องทำให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดหลายรูปแบบ เช่น คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
3.หากการบ้านที่ครูให้นั้นเป็นการบ้านในลักษะงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนที่โตแล้วก็จะทำให้นักเรียนได้ฝึกการประสานงานและทักษะทางสังคม
4. เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อและแม่หรือผู้ปกครองหรือแม้แต่ชุมชนได้ส่วนร่วมในการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเป็นผู้ให้คำแก่นักเรียนได้รับมอบหมายจากครู
5.เพื่อให้ครูได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน
สรุปได้ว่า การ ที่ครูดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมอบหมายการล้านให้นักเรียนไปทำนั้น มีวัตถุประสงค์ของบทเรียน และเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะตามจุด ประสงค์ของบทเรียน และเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดรวมทั้งเพื่อให้ครูทราบถึงความก้าวหน้าใน การเรียนของนักเรียน
ประโยชน์ของการให้การบ้านแก่นักเรียน
การ ให้การบ้านแก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนเพิ่มเติมนอกจากการเรียนใน ชั้นเรียนนั้นจะทำให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาฯตามความมุ้งหมายของบทเรียนมากยิ่งขึ้น ประโยชน์หลักๆ ของการให้การบ้านแก่นักเรียนได้แก่
1.นักเรียนได้ฝึกฝนปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะตามจุดหมายของการเรียนซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความชำนาญ
2. นักเรียนได้พัฒนาการคิดมากยิ่งขึ้น และการให้การบ้านในบางเรื่องจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดหลาย ๆรูปแบบ เช่น คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
3.หากเป็นงานกลุ่มจะทำให้นักเรียนมีทักษะทางด้านสังคมมากยิ่งขึ้น
4.พ่อแม่หรือผู้ปกครองหรือแม้แต่ชุมชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
5.ทำให้ครูได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนการสอน
คู้เปอร์ (2545:41-42) กล่าวกับผลกระทบของการบ้านที่มีต่อความสำเร็จในการเรียนของเด็กว่า ในเด็กเล็กนั้น การบ้านไม่ส่งผลที่แตกต่างกันมากนัก ระหว่างเด็กที่ทำการบ้าน และเด็กที่ได้รับวิธีการอื่นทดแทน แต่นักเรียนในระดับชั้นสูงขึ้นไป การบ้านสามารถสร้างผลกระทบที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด และหากนำเอาองค์ประกอบในด้านค่าใช้จ่ายของการบ้านมาเปรียบเทียบกับวิธีการ อื่นๆ แล้วพบว่าการบ้านนั้นเป็นสิ่งที่วิธีการอื่นไม่สารมารถเทียบเท่าได้เลย นอกจากนี้ การบ้านยังได้ส่งผลในเชิงบวกต่อเด็ก เมื่อก้าวสู่ การเป็นนักเรียนในชั้นสูงขึ้นไป สำหรับเด็กที่มีขีดจำกัดในด้านการเรียน การบ้านยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ยิ่ง ถ้าหากตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งดังต่อไปนี้
1.การเตรียมการและวางแผนที่ดีของครูผู้สอน
2.การมอบหมายงานที่เหมาะกับทักษะ ความสนใจ และแรงจูงใจของเด็ก
3.การได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ปกครอง
สรุปได้ว่า การให้การบ้านแก่นักเรียนก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการที่สำคัญได้แก่นัก เรียนมีความรูและความความชำนาญตามจุดประสงค์ของบทเรียนมากยิ่งขึ้น นักเรียนได้พัฒนาการคิดและทำให้ครูทราบถึงความก้าวหน้าทางการเรียนของนัก เรียน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยว กับการบ้านหรืองานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
เทคนิคการให้การบ้าน
หลัก การสำคัญในการให้การบ้านก็คือ ครูต้องชีแจงสิ่งที่มอบหมายให้นักเรียนทำให้ชัดเจน และนักเรียนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่สามารถจะทำการบ้านหรือค้นคว้าความ รู้เพิ่มเติมได้
มิลเลอร์(Miller, 2009:198) วิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการให้การบ้านแก่นักเรียนสรุปได้ว่า ครูควรปฏิบัติดังนี้
1.ให้การบ้านที่มีคุณค่าและสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของนักเรียน
2.ครูต้องแน่ใจว่าการบ้านที่ให้นั้นมีความยากง่ายที่เหมาะสม
3.ครูต้องอธิบายแนวทางการทำการบ้านให้เข้าใจและตัววอย่างประกอบชัดเจน
4.ครูต้องอุทิศเวลาในการตอบคำถามแก่นักเรียน
5.ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับงานที่มองหมาย
6.ครูให้การบ้านที่หลากหลายและให้โอกาสแก่นักเรียนในการเลือกทำ
7.ให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ
8.ครูต้องคอยให้ความช่วยเหลือและให้ผลป้อนกลับแก่นักเรียนในการทำงานที่มองหมาย
วีระ ไทยพานิช (2551:29) แนะนำเกี่ยวกับการให้การบ้าน สรุปได้ดังนี้
1.ครูวางแผนในการให้การบ้านด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงความสามารถของนักเรียนความสนใจตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางบ้านของนักเรียน
2.การบ้านควรชัดเจน รัดกุมและสัมพันธ์ที่เรียนในชั้น
3. การกำหนดเวลาสำหรับการส่งการบ้าน ควรคำนึงถึงกิจกรรมอื่น ๆที่นักเรียนต้องปฏิบัติด้วย เช่น กีฬาต่าง ๆ ชุมนุมหรือชมรมต่าง ๆ ตลอดจนงานในวิชาอื่น ๆของนักเรียน
4.ครูสามารถช่วยเหลือนักเรียน โดยการใช้เวลาในชั่วโมงที่สอนถามคำถามอภิปรายหรือแสดงตัวอย่าง เพื่อให้นักเรียนรู้ว่าเขาต้องทำอะไร
5. ต้องตรวจสอบการบ้าน ไม่เช่นนั้นแล้วนักเรียนจะคิดว่าครูไม่สนใจและคิดว่าการบ้านเป็นสิ่งไม่ สำคัญ ตรวจเสร็จแล้วคืนให้นักเรียนเร็วที่สุดจะเป็นการเสริมแรงจูงใจให้นักเรียน ได้ทำการบ้านด้วยความสนใจมากยิ่งขึ้น และไม่ใช่การบ้านเป็นเครื่องมือในการลงโทษ แต่การบ้านควรเป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
สุปราณี จิราณรงค์ (2551:103-104) กล่าวว่า เมื่อครูให้การบ้านครูจะต้องคำนึงถึงงานที่นักเรียนจะต้องทำในแต่ละวิชาด้วย เพราะถ้าครูต่างคนต่างให้มากๆ นักเรียนก็จะลำบากในการทำการบ้านก็เพื่อทบทวนและไม่ควรให้การบ้านแก่นัก เรียนพอประมาณโดยมีหลักการให้การบ้านที่ยังไม่ได้สอนก็จะทำให้นักเรียนทำไม่ ได้
สรุปได้ว่า ในการให้การบ้านแก่นักเรียนนั้นครูต้องให้การบ้านที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ ของนักเรียน มีปริมาณและความยากง่ายพอเหมาะ และครูต้องอธิบายแนวทางทำการบ้านให้นักเรียนเข้าใจพร้อมตอบข้อซักถามหากนัก เรียนสงสัย การบ้านที่ครูให้ควรมีความหลากหลายและให้โอกาสแก่นักเรียนในการเลือกทำ รวมทั้งให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการให้ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ ครูต้องคำนึงความสามารถของนักเรียนตลอดจนสภาพแวดล้อมทางบ้านของนักเรียนอีก ด้วย
เทคนิคการตรวจการบ้านและประเมินผลการสอน
เมื่อ ครูให้การบ้านแก่นักเรียนไปแล้ว หากการบ้านนั้นนักเรียนต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรในการทำ ก่อนการกำหนดส่ง ครูต้องติดตามตรวจสอบเป็นระยะๆ และให้นักเรียนได้มีโอกาสขอคำปรึกษาหากมีข้อเสนอแนะ และที่สำคัญที่สุด ครูต้องตรวจการบ้านและอธิบายในส่วนที่นักเรียนยังมีข้อผิดพลาด ซึ่งการตรวจการบ้านจะทำให้ครูทราบถึงผลการสอนของเองไปในตัวอีกด้วย
คลาย(Kline, 1989อ้างถึงในMiler, 2009:206-207) กล่าวถึงขั้นตอนในการให้ผลป้อนกลับแก่นักเรียน
3.ครูตรวจงานที่นักเรียนแก้ไขที่ผิด พร้อมทั้งจดบันทึกหากยังมีข้อผิดพลาด
4.ครูและนักเรียนประชุมร่วมกัน
5.ครูให้นักเรียนพูดถึงจุดเด่นของผลงานของนักเรียนเอง หากนักเรียนบอกไม่ได้ให้ครูเป็นคนกล่าวถึงจุดเด่นของผลงานอย่างน้อย 3 ข้อ
6. ครูอธิบายข้อผิดพลาดของนักเรียน 1 ข้อ แสดงขั้นตอนของวิธีการให้นักเรียนดู จากนั้นจึงให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว และครู๔เฝ้าดูและให้ความช่วยเหลือจนกระทั่งนักเรียนสามารถทำได้ด้วยตน เองอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
8.ครูอธิบายข้อผิดพลาดข้อถัดไปและดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 7 จนกระทั่งอธิบายข้อที่นักเรียนทำผิดทุกข้อ
9. ครูสรุปสาระสำคัญของการประชุมและให้ผลป้อนกลับ รวมทั้งระบุว่า อะไรที่นักเรียนควรทำต้อไปและท้ายที่สุดครูพูดแสดงความคาดหวังต่อตัวนัก เรียนในการลองปฏิบัติในครั้งใหม่ต่อไปนี้ เช่น พูดว่า เชื่อได้เลยว่าพรุ่งนี้เธอจะมีความเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี
สุปราณี จิราณรงค์ (2551:105) กล่าวว่าในการตรวจผลงานของนักเรียนไม่ว่าจะเป็นแบบฝึกหัด
ใบงาน รายงานหรือข้อสอบนั้นครูไม่ควรคำนึงเพียงแค่ความถูกผิด ผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ครูควรตรวจเพื่อประเมิน แก้ไข และปรับปรุงดังนี้
1. ตรวจเพื่อประเมินการเรียนของนักเรียนว่านักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ทำไมถึงทำแบบฝึกหัด ใบงาน รายงานไม่ได้ เพราะนักเรียนอาจจะอ่านแล้วไม่เข้าใจภาษาที่ครูใช้ในการแบบฝึกหัดไม่สื่อ ความชัดเจน ทำให้นักเรียนสับสนได้ หรือเนื้อหาที่ให้นักเรียนทำเกินบทเรียนที่กำหนด เป็นต้น
2. ตรวจเพื่อประเมินการสอนของครู ว่าการสอนของครูมีปัญหาอย่างไร เพราะครูบางท่านเรียนเก่งแต่อาจมีปัญหาในการถ่ายทอด หรือบางท่านคิดเอาเองว่านักเรียนเข้าใจดีแล้วเพราะนั่งเงียบทั้งห้อง
3. เมื่อได้ข้อมูลจากการประเมินแล้ว ครูควรนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขโดยจรณาตั้งแต่การสอนของครู วิธีสื่อความรู้ให้นักเรียนเข้าใจ ภาษาที่ครูใช้ วิธีการถามโดยพิจารณาตั้งแต่การสอนของครู หรือเนื้อหาที่อาจมาเกินมาตรฐานการเรียนรู้ในชั้นนั้นๆ
4. หลังจากครูประเมินและปรับปรุงแก้ไขแล้ว ครูจะต้องพัฒนาการจัดเตรียมการเรียนการสอนให้ดีขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนการ สอนผลดีทั้งนักเรียนและครู
สรุป ได้ว่า ครูต้องตรวจการบ้านที่มอบหมายให้นักเรียนทำ ให้การเริมแรง และอธิบายให้นักเรียนเข้าใจในข้อที่นักเรียนทำผิดจนกระทั่งนักเรียนสามารถทำ ได้ด้วยตนเอง และครูควรนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจการบ้านมาพิจารณาในการปรับปรุงเทคนิคและ วิธีการสอน และรวมถึงสื่อที่ครูใช้อีกด้วย
ณรงค์ กาญจนะ. 2553. เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1
ณรงค์ กาญจนะ. 2553. เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1
พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขล